30 ธ.ค. 2555

สื่อสิ่งพิมพ์ = อิทธิพล


ตัวอักษร รูปภาพ หรือที่เรียกกันว่า “สื่อสิ่งพิมพ์”  มีอิทธิพลต่อที่เราเรียกเราได้อย่างไร

                                                                             





ผมจะขอกล่าวถึงสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์นะครับ ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธแน่นอนว่าไม่อ่านหนังสือพิมพ์ เพราะไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม มักมีหนังสือพิมพ์บริการให้เราอ่านๆเวลาพักผ่อน เวลาว่างอยู่เสมอ

รู้ไหมครับว่าหนังสือพิมพ์นั้น มีอิทธิพลต่อเรา และสังคมอย่างไรบ้าง ?

หนังสือพิมพ์เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ก็จำเป็นที่จะต้องใส่ความเคลื่อนไหวของสังคม และข้อเท็จจริงต่างๆในสังคมนั้น สื่อออกมาในรูปแบบของตัวหนังสือ และรูปภาพ






ดังนั้น หนังสือพิมพ์ก็คือสื่อมวลชนชนิดหนึ่งที่เผยแพร่ข่าวสารความรู้ ความคิด และความบันเทิงไปสู่ประชาชน หนังสือพิมพ์ที่ดีมีคุณภาพ ก็จะมีส่วนในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น และหนังสือพิมพ์ที่ไร้คุณภาพก็จะฉุดประชาชนและสังคมให้ตกต่ำลง
 อิทธิพลของหนังสือพิมพ์
                
           ผมจะขอแบ่งออกเป็นสองด้าน คือ

               
อิทธิพลในด้านบวก
1. หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือสื่อสารของสังคม ซึ่งช่วยให้ประโยชน์ทางการศึกษา รู้ทันเหตุการณ์ ทำให้คนเกิดความรู้กว้างขวาง
2. ช่วยทำหน้าที่เป็นสื่อบันทึกภาพสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ความเชื่อถือ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่3. ช่วยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารทั้งในภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐบาล
4. เป็นสื่อในการช่วยเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในวิถีทางที่ถูกต้องยุติธรรม
5. ช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นข้อเท็จจริง
        

         
อิทธิพลในด้านลบ
1. สามารถโน้มน้าว สร้างความเชื่อที่ไม่ถูกต้องได้
2. เนื้อหาสาระที่เผยแพร่ออกไป อาจมีความรุนแรง ไม่เหมาะสมกับเยาวชนที่ยังไม่สามารถ
ใช้วิจรณญาณในการอ่านได้เท่าที่ควร
3. อาจก่อให้สังคมเกิดความตระหนก ตื่นกลัวจากเหตุการณ์ต่างๆที่เผยแพร่ออกไป
4. ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลในการเผยแพร่สารได้




ตัวอย่าง อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ ที่สร้างความเดือดร้อน หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

เรื่องนั้นมีอยู่ว่า


              เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2555 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ส่งหนังสือถึง นายสราวุธ วัชรพล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เผยแพร่ข่าวพร้อมการพาดหัวว่า “93 โจรใต้มอบตัว มีเพียง 3 ราย โดยดำเนินคดีอาญา” แต่ปรากฎว่าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กลับนำภาพกิจกรรมในวันที่ 15 ก.ย.2555 ที่ตัวแทนเครือข่ายจำเลยคดีความมั่นคงและประชาชนที่ได้รับผลกระทบเดินทางไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม  ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับข่าว “93 โจรใต้มอบตัว มีเพียง 3 ราย โดยดำเนินคดีอาญา


(ภาพข่าวที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม บอกว่า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงผิด เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2555)

                 การนำเสนอข่าวสารผ่านช่องทางหนังสือพิมพ์ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง เนื่องจากเนื้อหาของข่าว หรือรูปภาพของข่าวที่เป็นเท็จนั้น อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิของผู้อื่นได้ สร้างความเสียหายให้กับของผู้เสียหาย อาจสร้างความเข้าใจผิด ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย  

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ได้ทราบอิทธิพลด้านบวก และด้านลบของหนังสือพิมพ์กันไปแล้ว เราจะเห็นได้ว่า หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องเอาใจใส่ สอดส่องดูแล และควบคุม เพราะหนังสือพิมพ์สามารถที่จะปลุกระดม แทรกซึม โน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เจตคติ และพฤติกรรม หรือจริยธรรมของสังคมได้มาก ซึ่งอาจนำไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้ 

6 ธ.ค. 2555

ก้าวสู่ความลับ



หากจะพูดถึงสายลับคนดังอย่าง เจมส์ บอนด์ ในนาทีนี้ คงจะไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของเขาอย่างแน่นอน ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกถ่ายทำอย่างต่อเนื่องมาจนถึงภาคที่ 23 ในชื่อเรื่องว่า SKYFALL 007 พลิกรหัสพยัคฆ์ร้าย


ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนวสืบสวน สอบสวน เกี่ยวกับการสืบคดี ตามล่าหาตัวผู้ร้าย การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานสืบราชการลับ ตัวโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจึงเป็นโทนสีขาว-ดำ ซึ่งให้ความรู้สึกลึกลับและน่าค้นหา
การจัดวางมีความเรียบง่าย เน้นที่ตัวเอกของเรื่องให้อยู่ตรงกลาง เมื่อมองแล้วก็สามารถรู้สึกได้ถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่สื่อผ่านออกมาทางสีหน้าและแววตาของตัวละคร ฉากหลังเปรียบเสมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ ที่อาจจะมีความหมายอีกนัยหนึ่งคือ การแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งต้องใช้ความเพียรพยายาม และความอดทน ถึงแม้ว่าปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นจะยากเย็นเพียงไหน เหมือนดังเช่นอุโมงค์ที่ทอดยาว ไม่มีทางรู้ว่าอีกไกลแค่ไหนถึงจะพบทางออก แต่หากมีความมุ่งมั่นอดทน ก็ย่อมที่จะประสบผลสำเร็จและพบเจอจุดหมายปลายทางที่หวังไว้อย่างแน่นอน
ตัวอักษรที่นำมาใส่เป็นชื่อเรื่อง มีความพอดีและลงตัว ทั้งด้านการจัดวาง ขนาด และการเลือกใช้สี โดยเฉพาะกับการมีลูกเล่นเล็กน้อย คือการมีสะเก็ดฝุ่นสีดำอยู่บนตัวอักษรสีขาว ทำให้ชื่อเรื่องเกิดความน่าสนใจ เพราะเนื้อหาในเรื่อง การจะตามล่าสืบคดี จะต้องมีการต่อสู้ที่อาจจะมีการเปื้อนฝุ่นหรืออะไรต่างๆ อาจจะเป็นการสื่อความหมายอีกอย่างหนึ่ง และคำว่า 007 ด้านล่าง ก็เป็นรายละเอียดที่ผมชอบมาก เพราะหลังเลข 7 จะมีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่เมื่อลองมองดีดีแล้ว จะเห็นว่าเป็นรูปปืนนั่นเอง ซึ่งปืนนี้ ถือได้ว่าเป็นอาวุธหลักของตัวเอกในภาพยนตร์ ถือได้ว่าเป็นการเสริมให้ตัวอักษรธรรมดาๆ ดูโดดเด่นขึ้นมาในอีกลักษณะหนึ่งได้เป็นอย่างดี





          ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นภาพยนตร์ที่อยู่ในใจของคนหลายๆคนมายาวนาน เพราะภาคที่ 23 นี้ เป็นภาคที่ทำขึ้นมาฉลองครบรอบ 50 ปี ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก หากแต่ถ้ามีเพียงเนื้อเรื่องอย่างเดียว ไม่มีสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆมาช่วยเสริม ก็อาจจะทำให้ผู้ชมไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของภาพยนตร์ได้ โปสเตอร์จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์อย่างหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบที่สามารถนำพาภาพยนตร์ให้เป็นที่รู้จัก และติดตาตรึงใจผู้ชมได้เป็นอย่างดี

ผู้ติดตาม